วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี,บทเริ่มพระสมเด็จฯพิมพ์พระประธานทรงกระบอก

ภาพต้นแบบ
          

       


        พระประวัติย่อของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ พระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ทรงกำเนิด เมื่อ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๙ ตรงกับวันพุธ เดือน๖ ปีวอก จ.ศ.๑๑๓๘ ในแผ่นดิน พระเจ้ากรุงธนบุรี ที่บ้านบางขุนพรหม มีปานดำที่กลางหลัง ท่านบิดาคือ ท่านเจ้าพระยาจักรี ต่อมาเป็นรัชกาล ที่ ๑ แห่งราชจักรีวงค์ รู้เฉพาะวงใน ณ ขณะนั้น มารดาชื่อ แม่นาง งุด ลูกของท่านตา ผล ชาวกำแพงเพชรและท่านยาย ลา ชาวอุตรดิตถ์ และท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯทรงมรณภาพที่วัดอินทรวิหาร เมื่อเที่ยงคืนวันเสาร์ แรม๑ ค่ำ เดือน๘ ปีวอกตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ จ.ศ.๑๒๓๔ รวมอายุ ๙๖ปี พรรษาที่๗๕  มรณภาพด้วยอิริยาบทนั่ง ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๕(ยุวกษัตริย์)
           มีความเชื่อสืบเนื่องกันมาว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านปรารถนาพุทธภูมิเป็นพระโพธิสัตว์ผู้มีบารมีเต็มจะตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อไป เมื่ออายุย่าง๑๓ปี ทรงเป็นนาคหลวงบรรพชาเป็น สามเณร ที่วัดใหญ่ เมืองพิจิตรเมื่อบวชได้ ๓ปีท่านสามเณรโตเป็นผู้มีปัญญามากและความจำดีเป็นเลิศเรียนบาลีไวยากรณ์จบทั้ง ๕ คัมภีร์ใหญ่ มูลกัจจายนะปกรณ์ ผ่านนักธรรมเอกทรงแตกฉานในวิชาอาคมต่างๆเมื่ออายุ๒๑ปีบริบูรณ์ทรงเป็นนาคหลวงบรรพชิตที่วัดตะไกร เมืองพิษณุโลก สมเด็จพระวันรัตวัดระฆังโฆสิตารามเป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นพระสงฆ์แท้ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตรงต่อพระธรรมและพระวินัย
              ท่านเจ้าประคุณฯทรงเป็น พรหมรังสี มาตั้งแต่ครั้งนั้นทรงปราดเปรื่องทุกๆเรื่องมีผู้ศรัทธาทั่วทุกท้องถิ่นทรงสอบได้เปรียญ ๓ ทรงเป็นพระมหาโตเมื่ออายุ ๓๐ปีทรงได้รับพระราชทานเรือพระที่นั่งกราบเรือมีสีจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร(รัชกาลที่ ๒)ทรงเรียกขานว่า พระมหาโต เป็นปกติ ท่านเจ้าประคุณฯทรงออกธุดงค์เป็นระยะๆ สมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงสอบผ่านเปรียญ๔และเข้าสอบเปรียญ๕ต่อ ในข้อสอบบางข้อต้องตอบว่า ศาสดา แต่ทรงตอบว่า สัตถา ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต กรรมการสอบให้แก้ไขแต่ท่านทรงยืนยันคำตอบนั้น กรรมการสอบจึงให้สอบตก ท่านมหาโตจึงไม่สอบอีกเลย เมื่ออายุ ๔๖ ปีทรงออกธุดงค์ตามหัวเมืองต่างๆ
          เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จอายุ ๗๔ ปีพรรษาที่ ๕๓ ทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมกิตติเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เมื่อพ.ศ ๒๓๙๕ จากรัชกาลที่ ๔ ทรงได้ทำนุบำรุงวัดระฆังโฆสิตารามฯทรงเริ่มสร้างพระเครื่องของวัดระฆังฯครั้งแรกเป็นพิมพ์ทรงเกศบัวตูมและได้ทรงบำรุงวัดอินทรวิหารเป็นอันมากและทรงเริ่มอำนวยการก่อสร้าง พระพุทธรูปปางโปรดอาฬวกยักษ์แต่ก็ยังไม่เสร็จท่านเจ้าประคุณฯทรงมรณภาพเสียก่อน
  
                           ภาพพระสมเด็จฯเกษไชโย ยุคแรก






            ต่อมามีการสร้างต่อในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่เปลี่ยนไปเป็นพระพุทธรูปของพระศรีอริยเมตตรัยสัมมาสัมพุทธเจ้า ปางอุ้มบาตรมาเสร็จสมบูรณ์สมัยของรัชกาลที่๖ เมื่อต้นสมัยรัชกาลที่ ๔ ท่านเจ้าประคุณฯทรงได้รับพระราชทาน พัดใบลานฝ่ายวิปัสสนาเป็นแฉกถักทองด้ามงาได้รับพระบรมราชานุญาตให้เข้าเฝ้าได้ทุกเวลาทรงเป็นพระอาจารย์ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อแก้ปัญหาต่างๆมากมายหลายเรื่องที่เกิดขึ้นครั้งนั้น เช่น พวกเดียรถีย์นอกแถว ข้าราชการทุศีล นักล่าอาณานิคมฯ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็น พระเทพกวี ตรงกับพ.ศ ๒๔๐๗ อายุ ๘๘ ปี ทรงสร้างพระเครื่อง พิมพ์ทรงปรกโพธิ์ในนามวัดระฆังฯและได้เริ่มสร้างวัดเกษไชโยวรวิหาร ต.ไชโย เมืองอ่างทอง ทรงขอถวายพระพร พระบรมราชานุญาตที่ดินท่านเจ้าประคุณทรงใช้ทรัพย์เครื่องบูชาธรรมจากนักองค์ด้วง เจ้าเขมรผู้ซึ่งมีศรัทธายิ่งต่อท่าน เป็นประธานการสร้างพระพุทธรูปนั่งคู้บัลลังก์หน้าตักกว้าง ๘ วาชาวบ้านเรียกหลวงพ่อโต พระมหาพุทธพิมพ์ สร้างพระอุโบสถ,พระเจดีย์,หอระฆังและมีการทำพระเครื่องรูปแบบเฉพาะของวัดเกษไชโยวรวิหารโดยช่างชาวบ้านไชโยแกะแม่พิมพ์ถวาย รูปแบบบำเพ็ญทุกกรกิริยา ฐานโพชฌงค์ ๗ เมื่อต้น พ.ศ ๒๔๐๘ จ.ศ. ๑๒๒๗
           พระเครื่องพระสมเด็จฯเกษไชโย ยุคแรกสุดมีรูปพระเจดีย์และรูปหอระฆังอยู่ด้านหลังพ.ศ.๒๔๐๘-๒๔๑๑



            ต่อมาทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น สมเด็จ พระพุฒาจารย์ องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อายุ ๘๙ ปี พรรษาที่๖๘ ทรงพระดำริการพิมพ์พระ"สมเด็จ"เฉพาะของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่่อแจกจ่ายแก่ประชาชนและญาติโยมที่ศรัทธาต่อพระองค์ท่าน ตอนแรกท่านหลวงวิจิตรนฤมลเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวายซึ่งได้องค์พระที่บอบบางเกิดความแตกหักง่าย ต่อมาไม่นานท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัยสร้างสรรค์แม่พิมพ์พระถวายใหม่ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯทรงกำหนดให้ใช้แบบพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถกับรูปถ่ายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯตอนได้รับพระราชทานเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นแบบของแม่พิมพ์พระ พิมพ์พระประธาน
         
          พิมพ์พระประธานนั้นคือ "จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง" ของประเทศไทย ปัจจุบัน...

ข้อมูลส่วนใหญ่ จากผนังภายในพระอุโบสถเก่า วัดอินทรวิหาร
สมเด็จฯพิมพ์พระประธาน องค์ประถม





ภาพถ่ายต้นแบบท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ



                บทแซก      การสำรวจจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ เท่ากับ ๘,๑๓๑,๒๔๗ คน
                                                                          ธุลี

สนใจติดต่อ และสอบถามเพิ่มเติม 

EMAIL : tule_prasomdej@hotmail.com โทร.๐๘๔-๙๑๔๑๒๘๗