![]() |
ภาพต้นแบบ |
- เปลือกหอยสังข์ ตำป่นละเอียดได้ ผงปูน
- ผงปูนขาวเทาจากซากฯเก่า(ปูนตาย)
- ผง ดินสอพองเหลืองและขาว, ผงว่านมงคลต่างๆมากชนิดเช่น ผงว่านมหาราช สีส้มแดง,ว่าน ภควัมบตี,ผงกากเพชรดำ,ผงสมุกใบลานจากใบลานโบราณที่จารพระไตรปิฎกชำรุด ได้ปั้นผงเป็นแท่งดินสอเขียนพระคาถาบทต่างๆได้เป็นผง อิธะเจ,ผงนะเกร็ดปถมัง,ผงมหาราช,ผงพุทธคุณ,ผงตรีนิสิงเห สำเร็จเป็นผงกฤตยาคม
- เมล็ดข้าวสุกตากแห้งจากข้าวถวายพระประธานและข้าวที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯบิณฑบาตรได้มาบางส่วน
- ผงโลหะจากการตะไบตกแต่งพระพุทธรูปทองคำ,เงิน ของช่างหลวงต่างๆได้ผงทอง ผงเงิน
- เกษรดอกบัว,เกษรดอกไม้มงคล,ดอกไม้แห้ง,ดอกมะลิฯ, ดอกพิกุลฯ ที่บูชาพระประธานและที่ได้รับประเคนจากญาติโยม
- ผงอัญมณีจากการเจียรนัย การฝน เช่น ทับทิม,มรกต,เศษเพชร,เกล็ดไพลิน,เกล็ดบุษราคัม,หยกขาว,หยกเขียวของพระพุทธรูปชำรุด,หินเขียวจากศรีลังกา สมัยรัชกาลที่๒ บดหรือตำละเอียด
- เศษก้อนอิฐปูนเก่า(ปูนตาย)จากผนังโบสถ์และพระพุทธรูปและพระเครื่องชำรุดในโบสถ์,ในพระเจดีย์และในพระวิหารต่างๆ(ซึ่งส่วนใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า)รวมทั้งไคลเสมา,ไคลเจดีย์(ตะไคร่),เม็ดรักเก่า,ก้อนพระธาตุจากพระเจดีย์ชำรุดช่วงหลังยุคพระนครศรีอยุธยาแตกและได้มาจากชาวบ้านญาติโยมหลายๆจังหวัดเช่น พิษณุโลก กำแพงเพชร สิงห์บุรี ลพบุรี สุโขทัย เพชรบุรีและอยุธยาเพราะ ท่านพระมหาโตได้ออกธุดงค์ไปทั่วต่อมายังเป็นแม่งานตรวจสอบเพื่อซ่อมแซมพุทธสถานหลายสถานที่
- เนื้อกล้วยหอมจันท์,เนื้อขนุนสุก,น้ำพระพุทธมนต์,น้ำมันตังอิ๊ว เป็นตัวประสานมวลสารมงคลต่างๆ
- และอาจมีมวลสารมงคลอื่นๆเพิ่มเติมอีกในบางบาตร เช่น เส้นพระเกศาและไม้มงคลบางชนิดเช่น เปลือกและเนื้อไม้โพธิ์จากศรีลังกานำเข้ามาสมัยรัชกาลที่ ๒
หมายเหตุ : รูปแบบพระที่แตกต่างส่วนหนึ่งมาจากการผสมที่แก่ปูนตาย แก่ปูนเปลือกหอยสังข์ แก่ผงกฤตยาคม (ผงดินสอพองหลายสี) การใส่น้ำมันตังอิ๊วมากและน้อยทำให้ต่างสีส้น โปรดพิจารณาแต่ละองค์(การผสมมวลสารมงคลแต่ละครั้งผสมไม่มากเพราะถ้ากดพิมพ์พระไม่หมดก็จะแข็งตัว)
พระสมเด็จฯ พิมพ์พระประธาน "องค์ประถม" (ด้านหน้า) |
พระสมเด็จฯ "องค์ประถม" (ด้านหลัง) |
![]() |
![]() |
![]() |
|
พระสมเด็จฯพิมพ์พระประธาน(ด้านหลัง)มวรมลมพ์พระประธาน ขอระ สมเด็จฯวด |
หลังจากพระฯองค์ประถมแห้งสนิทในผอบเป็นเวลานานกว่า๑๔๐ปีทำให้มวลสารที่ละเอียดต่างๆนั้น เกิดการแห้งรัดตัวพร้อมกันทั้งองค์ด้วยอุณหภูมิที่สม่ำเสมอ มวลสารมงคลที่เป็นเนื้อละเอียดและที่เป็นก้อนลอยที่ผสานกันอยู่แบบไม่เรียบเนียนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่น จุดสีส้มแดง เยื่อเหลือง จุดเขียว บางชนิดเป็นเกล็ดเช่น เกล็ดผงอัญมณี ผงทองคำ ผงเงินมีประกายระยิบระยับงดงาม ประเภทเป็นก้อนเล็กเช่น ก้อนขาวขุ่นมีหนาตา(ข้าว) ก้อนดำเขียว ก้อนเทา(พระธาตุ)และก้านดำ(ก้านบัว)ประเภทเป็นจุดเล็กๆมีจุดเขียวอ่อน เขียวเข้ม เหลืองอ่อน เหลืองเข้ม น้ำตาล และสีเขียวครามจางๆและจุดส้มแดงเป็นฝ้ากระจายซึ่งมีทุกๆองค์ พระบางองค์ที่ผสมเหลวจะมีรอยดึงเหนอะ พื้นด้านหน้าตามซอกมีคราบเกิดจากแป้งโรยพิมพ์,น้ำปูนเปลือกหอยสังข์และน้ำมันตังอิ๊วมี สีน้ำตาลเทา สีเทาคล้ายผงปูนซีเมนต์
มวลสารเนื้อในองค์พระส่วนใหญ่ต้องมีสีขาว คราบตามซอกและพื้นมีสีขาวเทา ผิวฝ้าด้านบนต้องอมน้ำตาลเหลืองหนาบ้าง บางบ้างหุ้มอยู่ แล้วแต่ความเข็มข้นของน้ำมันตังอิ๊ว พระสมเด็จวัดระฆังฯส่วนใหญ่เกือบทุกองค์ปรากฎรอยจ้ำๆของน้ำมันตังอิ้ว ความแกร่ง หนึกนุ่ม ดูมีความชุ่มฉ่ำ มีเงาสว่างต่างมิติ ซึ่งมีเฉพาะพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯเท่านั้น เวลากว่าศตวรรษมวลสารมงคลต่างๆเกิดความควบแน่น มีการรัดตัวเข้าในเช่น เส้นซุ้มระฆัง พระพาหา พระกร พระบั้นพระองค์ ช่องพระกัจฉะทั้งสองด้าน พระชานุ ฐานทั้งสาม พระฯที่ออกมาองค์หลังๆ ฐานสองมีลักษณะยุบตัวมากอาจเพราะมีมวลสารอุดแม่พิมพ์ การยุบของพื้นผนังด้านข้างทั้งสี่ด้าน การยุบตัวของพื้นหลังเป็นหลุมหรือรูเล็กๆมากมาย ร่องรอยการระเหยของน้ำ,การระเหิดของน้ำมันตังอิ๊วพระสมเด็จฯบางองค์หากสังเกตุเนื้อในเห็นคล้ายมีรากไม้(รากผักชี)
ลักษณะการรัดตัวและการยุบตัว ธรรมชาติเป็นผู้กำหนดจัดสรร ลักษณะดังกล่าวมีการสมมติศัพท์ใช้เรียกมาแต่อดีตว่า รอยย่นหนังไก่ รอยปูไต่ รอยหนอนด้น รูพรุนปลายเข็ม รอยระแหง บ่อโพรง ฯลฯ
พระสมเด็จฯ พิมพ์พระประธาน วัดระฆังฯ
ด้วยความปรารถนาดี
ธุลี
สนใจเรียนรู้ ติดต่อเพิ่มเติม
EMAIL : tule_prasomdej@hotmail.com โทร. ๐๘๔-๙๑๔๑๒๘๗