วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบเอกลักษณ์พิมพ์พระสมเด็จพิมพ์พระประธานของหลวงวิจารณ์เจียรณัย


ภาพต้นแบบ
          รูปเอกลักษณ์สำคัญของการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี พิมพ์พระประธานสร้างสรรค์โดยอดีตเจ้ากรมช่างสิบหมู่ ท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัยเป็นแบบสี่เหลี่ยมคางหมู สอบบนเล็กน้อยถอดรายละเอียดรูปลักษณะจาก  พระสมเด็จฯองค์ประถม ซึ่งเป็นพระที่ติดเต็มแม่พิมพ์ ได้ดังนี้

  •     ๑. เส้นซุ้มระฆังหนาคล้ายเส้นหวายผ่าซีก ส่วนโค้งซุ้มทั้งสอง    ด้านตั้งขึ้นโค้งเข้าล้อมองค์พระต่างกันชัดเจน,ซุ้มด้านขวาเหนือพระเกศดุ้งไม่โค้งเนียนถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นได้ว่าพื้นที่นอกซุ้มด้านขวามีมากกว่าพื้นที่ด้านซ้าย(ขององค์พระ)
  •     ๒. ใบหน้า(พระพักตร์)คล้ายทรงผลมะตูม เป็นพิมพ์พระที่ไม่มีตา(พระเนตร) จมูก(พระนาสิก)และปาก(พระโอษฐ์) มีหู(พระกรรณ)เป็นแบบ หูบายศรี 
  •     ๓. พระเกศทะลุซุ้มระฆัง(บางองค์ส่วนทะลุไม่ติด)




  •       ๔.ใบหน้าหันบิดขวาเล็กน้อยทำให้แก้มซ้าย(พระปราง)ดูตั้งขึ้นมากกว่าแก้มขวาขององค์พระที่ดูงดงามกลมกลืน(อาจสังเกตุยาก)
  •      ๕.อก(พระอุระ)สูงเด่นสุด,อกด้านซ้ายตั้งชันกว่าด้านขวาที่เทลาดคล้ายรูปถ่ายของพระองค์,แขนขวาโค้ง แขนซ้ายทิ้งดิ่งลงมา,บ่าด้านขวามีขนาดหนากว่าด้านซ้ายเล็กน้อย,เอว รูปทรงกระบอก
  •       ๖.มือทั้งสองวางประสานซ้อนกันมองดูโย้ไปด้าน     ซ้ายขององค์พระเหมือนรูปถ่ายของพระองค์ท่าน
  •      ๗.รักแร้ซ้ายขององค์พระสูงกว่ารักแร้ขวา
  •      ๘.เข่าซ้ายยื่นล้ำมากกว่าเข่าขวาและสูงกว่าฐานศีล,ฐานสมาธิและฐานปัญญา  
  •      ๙.การนั่งแบบขัดสมาธิราบเท้าขวาและแข้งขวาวางพาดบนตักซ้าย(ผู้ชำนาญการวงการพระเครื่องรู้ว่าองค์พระเป็นแบบนั่งขัดสมาธิราบแต่ก็ไม่เคยเห็นเท้าขวาเสมือนขององค์พระสมเด็จฯองค์ประถมซึ่งก็เหมือนๆคนทั่วไป)เมื่อแม่พิมพ์ถูกมวลสารฯอุดตันส่วนนี้ทำให้เข้าใจผิดว่ามีผ้าจีวรพาดจากแขนซ้ายลงมายังตักซ้ายดังอ้างกันเกือบทุกสื่อมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันสังเกตุที่องค์พระสมเด็จฯองค์ประถมจะเห็นเท้าซ้ายและแข้งซ้ายอยู่ใต้ตักขวาร่ำไร





              
  •  ๑๐.ระยะห่างเข่าขวากับฐานศีลแคบกว่าเข่าซ้ายกับฐานศีล 
  • ๑๑.ฐานสมาธิ(แบบคมขวาน)ตั้งบนฐานปัญญามองดูไม่สมดุลเยื้องไปทางด้านซ้ายขององค์พระ ระยะห่าง๓มม.และ๒มม.,ปลายฐานปัญญาทั้งสองข้างปาดเฉียงต่างกันเล็กน้อย
  •  ๑๒.ฐานสมาธิ(ฐานสอง)สูงกว่าฐานศีลและฐานปัญญา(ฐานแรกและฐานสาม)(องค์ติดลึก)
  • ๑๓.เส้นบังคับ(กรอบกระจก)แนวกรอบด้านขวาขององค์พระส่วนใหญ่จะยาวลงไปเกือบล่างสุด,ส่วนแนวกรอบด้านซ้ายจะยาวลงมาไม่เกินระดับศอก
  • ๑๔.พื้นนอกซุ้มสูงกว่าพื้นในซุ้มและพื้นในซุ้มสูงกว่าพื้นในช่องวงแขน    
           ลักษณะเอกลักษณ์เหล่านี้พระฯบางองค์อาจมีไม่ครบ การพิจารณาควรคำนึงเรื่องมวลสารมงคลและความเก่าประกอบ (อ่านบทความอื่นๆประกอบ)

พระสมเด็จฯโดยหลวงวิจารณ์เจียรณัย



                                                    ด้วยความปรารถนาดี

สนใจเรียนรู้ และติดต่อสอบถาม : ธุลี

  1. EMAIL : tule_prasomdej@hotmail.com  โทร.๐๘๔-๙๑๔๑๒๘๗