วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทสรุปมาตรฐานการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร,ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี



ภาพต้นแบบ
      ท่านผู้สนใจศึกษาใฝ่รู้เรื่องราวรายละเอียด พระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี โดยเฉพาะเรื่องของ พิมพ์พระประธาน ซึ่งเป็นรูปแบบพระประธานในพระอุโบสถของวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรณัยซึ่งเชื่อกันว่าท่านสร้างสรรค์ถวายท่านเจ้าประคุณฯเพียงแม่พิมพ์เดียวที่ใช้รูปถ่ายลักษณะของท่านเจ้าประคุณฯและรูปแบบพระประธานเป็นองค์ประกอบหลักเป็นแม่พิมพ์พระที่ไม่มี ตา,จมูก,ปากและผ้าพาดบ่า(ผ้าสังฆาฏิ) มีหูบายสี เป็นแบบสี่เหลี่ยม(คางหมู)สอบบนเล็กน้อยส่วนพระพิมพ์อื่นๆเป็นของหลวงวิจิตรนฤมล,กลุ่มช่างหลวงและช่างชาวบ้าน 
      








          
               ผู้ศึกษาและสะสมโดยเฉพาะผู้ศึกษาใฝ่รู้รุ่นใหม่ส่วนใหญ่ก็คงต้องสับสนเกี่ยวกับข้อมูลรูปแบบของพิมพ์พระฯที่แตกต่างหลากหลาย ยากต่อการเรียนรู้ เห็นได้จากสื่อต่างๆที่เผยแพร่ออกมาเกือบทุกสื่อค่อนข้างแตกต่างกัน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ดั่ง ตาบอดคลำช้าง หลักการพิจารณาวินิจฉัย โดยเฉพาะเรื่องพิมพ์ทรงของสมเด็จฯพิมพ์พระประธานที่บริบูรณ์เป็นอย่างไร?
               ถ้าท่าน(สื่อต่างๆ)เหล่านั้นไม่เคยเห็นรูปแบบพิมพ์พระที่ถูกต้องสมบูรณ์คมชัดจะเอาสิ่งใดมาอธิบาย กลุ่มสื่อและผู้ชำนาญการเกือบทุกคนเห็นแต่พระที่เพี้ยนพิมพ์ทำให้การเผยแพร่และชี้ขาดถูกผิด มีปัญหามากต่างก็รู้ไม่จริง รู้ไม่ครบไม่มีมาตรฐานใดมารองรับเป็นเอกฉันท์ (แต่เรื่องมวลสารมงคลและความแกร่งเก่าก็ช่วยการพิจารณาได้ไม่น้อยทีเดียว)
              เป็นเหตุทำให้ผู้คนในวงการพระเครื่องมีการแบ่งพวก แบ่งก๊วน มีเรื่องเป็นคดีความกันมากมายเกิดช่องว่างแตกแยก ขาดศรัทธา ทำให้เกิดกลุ่มมิจฉาชีพพวกหลอกลวงสังคมวงการพระเครื่อง พวกถือโอกาสตอนฝุ่นตลบนับวันก็ยิ่งมีมากเพิ่มขึ้น มองข้ามพระเมตตาคุณและพระประสงค์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เมื่อมีความรู้ไม่จริง จึงมีการกล่าวกันว่าพระพิมพ์ พระประธานของท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัยนั้นมีหลายแม่พิมพ์ ! ดังอ้างอิงกัน

           



             แต่ พระสมเด็จฯพิมพ์พระประธานที่ปรากฏเผยแพร่กลับมีรูปแบบอัตลักษณ์ที่สำคัญเหมือนๆกันทุกองค์เช่น การตั้งขึ้นของเส้นซุ้มทั้งสองด้านโค้งเข้าล้อมองค์พระต่างกัน เส้นซุ้มเหนือหูด้านขวาดุ้ง,ใบหน้าคล้ายผลมะตูม,มีอกสูงเด่นสุด,ลำตัวบิดไปด้านขวา(ดูรูปถ่ายของท่านฯ)ทำให้อกด้านซ้ายตั้งชันกว่าอกด้านขวา(ควรสังเกตุ),ไม่มีผ้าพาดบ่า(สังฆาฏิ),วงแขนขวาโค้งเล็กน้อยแขนด้่านซ้ายทิ้งดิ่งตรงลงมา,มือทั้งสองวางซ้อนโย้ไปซ้ายขององค์พระ,เข่าซ้ายยื่นล้ำเด่นรองจากอก,พื้นนอกซุ้มสูงกว่าพื้นในซุ้มและ พื้นในซุ้มสูงกว่าพื้นในช่องวงแขน,ปลายฐานล่างทั้งสองปาดเอียงต่างกัน นักเขียนรุ่นใหม่บางท่านรู้ไม่ครบใช้คำเรียกว่าเป็นพระ พิมพ์ใหญ่ ก็มีโดยไม่รู้เลยว่าเป็นพระ พิมพ์พระประธาน
             การเพี้ยนต่างนั้นๆเกิดจากมวลสารฯอุดแม่พิมพ์พระ การผสมมวลสารมงคลแต่ละครั้งผสมไม่มากเพราะหากกดพิมพ์พระไม่หมด มวลสารฯที่ผสมแล้วก็จะแข็งตัว เมื่อการกดพิมพ์พระที่มีมวลสารมงคลหลายชนิดข้นและเหลวต่างกันเข้าไปติดและอุดตามซอกต่างๆของแม่พิมพ์พระ เมื่อไม่ได้ทำความสะอาดแม่พิมพ์พระบ่อยๆ พระสมเด็จฯจึงไม่มีองค์พระที่เหมือนกันเลย ส่วนของพระเกศที่ทะลุซุ้ม,หู,ลำคอและผ้ารองนั่งที่หายไปเพราะแม่พิมพ์พระตื้นขึ้น,องค์พระบางและเล็กลง ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นพระต่างแม่พิมพ์ ส่วนเท้าขวาที่วางพาดบนตักซ้าย(แบบคู้บัลลังก์ขัดสมาธิราบ ผู้ที่เคยเห็นร่องพระบาทขวาคงมีน้อยมาก) ถูกมวลสารอุดแม่พิมพ์พระต่อเชื่อมกับแขนซ้ายจึงทำให้เข้าใจผิดว่ามีผ้าจีวรพาดลงมาที่แขนซ้ายและตักซ้ายกล่าวกันเกือบทุกสื่อฯ ด้วยพระบารมีฯองค์พระที่ออกมาก็ยังคงดูงดงามดี แต่ควรทราบว่าไม่ได้มาจากแม่พิมพ์พระเดิม โปรดสังเกตุจากพระสมเด็จฯองค์ประถมซึ่งเป็นพระติดเต็มแม่พิมพ์
             เมื่อกดพิมพ์พระมาก มวลสารมงคลก็ยิ่งอุดมากขึ้น เมื่อมีการแกะแต่งแม่พิมพ์พระจึงทำให้เพี้ยนจากเดิม ปรากฏว่าพระสมเด็จฯบางองค์มีเส้นซุ้มด้านขวาบนมีแนวเกือบเป็นเส้นตรง(ระดับโคนพระเกศลงมาถึงแนวแขนขวา),บางองค์มีแขนขวาลงมาตรงๆไม่โค้งเหมือนพระต้นพิมพ์,บางองค์หน้าอกมีร่องคล้ายมีสังฆาฏิ,บางองค์มีเท้าซ้ายและแข้งซ้ายยื่นล้ำออกมา,บางองค์พระเกศเอียงซ้าย,บางองค์บ่าซ้ายบางมากกว่าเดิม ทำให้องค์พระนั่งเอียงซ้าย,บางองค์มีวงแขนบางโค้งทั้งสองข้าง จึงเป็นเหตุอ้างว่าต่างบล๊อกต่างแม่พิมพ์ การตัดขอบพิมพ์พระการจับพระที่ยังไม่แข็งตัวทำให้รูปทรงพระ ผิดเพี้ยนไปได้ยังมีข้อผิดพลาดและความเข้าใจผิดอีกหลายประการที่เผยแพร่อยู่
        
    
                ข้อมูลเหล่านี้ ควรนำมาประกอบการพิจารณาถึงเหตุของความแตกต่างผิดเพี้ยน ท่านที่ครอบครองพระสมเด็จฯอยู่ บางองค์ บางครั้งก็ยังลังเลสงสัยว่าใช่พระของวัดระฆังฯและเป็นของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโดยหลวงวิจารณ์เจียรณัยหรือไม่? ท่านสามารถตรวจสอบรายละเอียดและศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองจากรูปถ่ายองค์พระและบทความต่างๆเหล่านี้หวังว่าจะเกิดประโยชน์แก่หลายท่านเป็นอันมาก
            สรุปการพิจารณารูปทรงเอกลักษณ์องค์พระ เมื่อแรกเห็นผู้ศึกษาใฝ่รู้ ควรจำ:เส้นซุ้มทั้งสองด้านวาดโค้งขึ้นต่างกัน,พื้นที่นอกซุ้มด้านขวามีมากกว่าพื้นที่นอกซุ้มด้านซ้าย,เส้นซุ้มดุ้งเหนือหูขวา,หน้าอกสูงเด่นสุด,เข่าซ้ายสูงรองและจะสูงกว่าฐานทั้งสาม,ใบหน้าและลำตัวบิดขวาเล็กน้อยทำให้อกด้านซ้ายตั้งขึ้นไม่เอียงลาดเหมือนด้านขวา,มือทั้งสองวางซ้อนโย้ซ้าย,ฐานสองตั้งบนฐานล่างเยื้องซ้ายเล็กน้อย(ไม่สมดุล),ระยะห่างเข่าขวากับฐานแรกแคบกว่าเข่าซ้ายกับฐานแรก,พื้นนอกซุ้มสูงกว่าพื้นในซุ้มและพื้นในซุ้มสูงกว่าพื้นในช่องวงแขน (ความเก่าแกร่ง หนึกนุ่มคล้ายหินอ่อนหรืองาช้าง)
              ถึงอย่างไรก็ตามการเพี้ยนพิมพ์รูปแบบองค์พระจะมีมากแบบหลากหลายแค่ไหน สิ่งที่ยังคงต้องปรากฏก็คือ รูปแบบเอกลักษณ์สำคัญที่กล่าวไว้ มีร่องรอยความแห้งจากการระเหยของน้ำการระเหิดของน้ำมันตังอิ๊วจะเห็นเป็นเส้นคล้ายรากไม้(รากผักชี) 
         ส่วนคราบบนมักมีสีขาวเหลือง ขาวเทา น้ำตาลอ่อน การรัดตัวการยุบตัวของมวลสารมงคลที่มีมวลต่างกันย่อมไม่เนียนสนิท เป็นร่องแอ่งคลื่นเล็กๆ ลักษณะต่างๆเหล่านี้ปรากฏได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีการสมมติศัพท์เรียกกันมาซึ่งก็เหมาะสมดีว่ารอยย่นหนังไก่,รอยระแหง,(ตาเปล่าแทบมองไม่เห็นซึ่งต่างจากพระปลอมจะเห็นได้ชัดเจน) มีหลุมหรือบ่อโพรงโบ๋ ด้านหลังมักพบ รูพรุนปลายเข็ม รอยหนอนด้น รอยปูไต่ ฯ 
           ส่วนสีสันหลากสีของมวลสารมงคลต้องมีทั่วทั้งองค์พระ คล้ายพื้นหินขัดเช่น ก้อนขาวขุ่นเล็ก,ก้อนเทา,อิฐส้ม,ส้มแดงดำ ก้อนเขียว,เยื่อเหลือง,จุดประกายระยิบระยับจากผงอัญมณีหลายสี,ผงทอง,ผงเงิน ความแกร่งหนึกนุ่มต้องชุ่มฉ่ำไม่แห้งแข็งกระด้าง มีเงาสว่างต่างมิติความลึก








           ขออธิบายคำเปรียบเทียบ คำว่า 
         แกร่ง ถ้าใช้กล้องขยายส่องดูจะพบว่า มวลสารมงคลชนิดผงละเอียดและหยาบรวมตัวกันแน่นแต่ไม่เนียนสนิท เมื่อทดลองโยนบนพื้นกระจกสูงประมาณ ๑ ซม.เสียงจะใสคล้ายเสียงของเหรียญกระทบกระจก เสียงจะไม่ทึบ
        หนึกนุ่มและชุ่มฉ่ำ พระที่แขวนเป็นประจำเมื่อมองดูคล้ายองค์พระยังไม่แห้งสนิทเหมือนหินอ่อนแต่ถ้าเป็นพระที่เก็บไว้โดนอากาศน้อยและใส่น้ำมันตังอิ๊วน้อยเมื่อมองด้วยตาเปล่าคล้ายองค์พระแห้งเหมือนปูนฉาบเก่าๆที่เสื่อมสภาพจะพบเห็นน้อยมาก 
        เงาสว่างต่างมิติ เมื่อมองดูองค์พระจะพบว่าส่วนลึกของเส้นซุ้ม ซอกรักแร้ ส่วนลึกของใต้ฐานป้ญญา ฯ แม้มีเงาทับอยู่ก็ยังมองเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน
         หากทุกๆข้อมูลและความเห็นต่างๆเหล่านี้อาจทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดไม่ถูกใจหรือไม่สบอารมณ์ ขอจงโปรดอดโทษแก่ผู้เขียนด้วยเพราะมีเจตนาแท้จริงคือให้ความรู้ความกระจ่างแจ้งแก่ผู้สนใจศึกษาใฝ่รู้และแสดงความกตัญญู กตเวทีต่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสีและท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัยแต่ถ้ายังมีสิ่งใดๆบกพร่องหรือผิดพลาดผู้เขียนขอน้อมรับไว้ ด้วยคำสัตย์นี้หากเป็นบุญกุศลก็ขออุทิศบุญนี้ให้สำเร็จแก่ผู้เกี่ยวข้องกับพระสมเด็จฯทุกๆท่าน ขอจงโปรดอนุโมทนาบุญสืบต่อไป
                                  
                                       ด้วยความเคารพและปรารถนาดี
                                     สวัสดีครับ
                                     ธุลี








สนใจเรียนรู้ ติอต่อสอบถามเพิ่มเติม 

EMAIL : tule_prasomdej@hotmail.com   โทร. ๐๘๔-๙๑๔๑๒๘๗