วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ขนาดความหนา(มิติความลึก),ของแม่พิมพ์พระสมเด็จฯ,พิมพ์พระประธาน,สมเด็จองค์ประถม

        ในสังคมวงการพระเครื่องของเมืองไทยท่านผู้สนใจศึกษาและสะสมพระเครื่องหลายๆท่านคงไม่ปฏิเสธว่ามีความต้องการพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พิมพ์พระประธาน "จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง"เอาไว้บูชาสักองค์และคงจะทราบกันดีว่าพระสมเด็จฯที่เป็นของแท้ของวัดระฆังโฆสิตารามฯนั้นแค่หาโอกาสจะได้เห็นก็เป็นของยากมากๆเพราะคงมีพระแท้อยู่ไม่มากนักในปัจจุบันและผู้มีครอบครองอยู่ก็หวงแหนยิ่งกว่าไข่ในหิน จึงต้องอาศัยทั้งมีบารมีและมีบุญเก่ามากทีเดียว ผู้ที่มีเงินมากมายก็ใช่ว่าจะได้เป็นเจ้าของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหารแท้ๆได้ตามความต้องการ
    


        เชื่อว่าพระสมเด็จฯของท่านเจ้าประคุณฯควรอยู่กับผู้มีศรัทธาจริงและเป็นคนดีมีศีลธรรมสม่ำเสมอ ถึงอย่างไรพระสมเด็จฯก็ยังคงเป็นที่ปรารถนาของผู้คนส่วนใหญ่ในวงการสังคมพระเครื่องไปอีกนานแสนนานเพราะฉะนั้นผู้ปรารถนาต้องมีความรู้พื้นฐาน รู้จริงในเรื่องของความเก่าและรู้รายละเอียดของมวลสารมงคลและขนาดรูปทรงอัตลักษณ์ที่ถูกต้องด้วยตนเอง"พระสมเด็จองค์ประถม" เป็นพระที่ติดเต็มแม่พิมพ์ท่านผู้ใดมีพระสมเด็จฯอยู่ในความครอบครองถ้าหากยังหาข้อสรุปไม่ได้สามารถใช้บทความต่างๆนี้ตรวจสอบทุกรายละเอียดได้อย่างมั่นใจ แม่พิมพ์พระสมเด็จฯของท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัยจะต้องมี ความหนา ขนาดตามมาตรฐานแม่พิมพ์ ดังนี้
ภาพต้นแบบ
พระสมเด็จ "องค์ประถม"(ด้านข้าง)
                ความหนาหรือมิติความลึกของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พิมพ์พระประธาน ได้รายละเอียดจากพระสมเด็จฯองค์ประถม วัดจากส่วนที่สูงที่สุดขององค์พระถึงพื้นหลัง เพื่อเป็นหลักในการพิจารณาและวินิจฉัยของผู้สนใจศึกษาทุกๆท่าน
 ๑. อก หนา ๕ มม.
 ๒. เข่าซ้าย ขององค์พระ หนา ๔.๕ มม.
 ๓. ใบหน้า,เข่าขวา,ฐานสอง(แบบคมขวาน) หนาเท่ากัน ๔ มม.
 ๔. แขน,ฐานแรกและฐานสาม หนาเท่ากัน ๓.๕ มม. 
 ๕. โคนพระเกศ,คอ,เส้นซุ้มระฆัง,โคนศอก หนาเท่ากัน ๓ มม.
 ๖  ผ้ารองนั่ง,หู,พื้นนอกซุ้ม หนาเท่ากัน ๒.๕ มม.
 ๗. พื้นในซุ้ม หนา ๒ มม.
 ๘. พื้นในช่องวงแขน หนา ๑.๕ ม.ม. 

      ลักษณะพิมพ์พระเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู สอบบน  ด้านบนแคบกว่าด้านล่าง บนกว้าง ๒๒ มม. ล่างกว้าง ๒๔ มม,วัดภายนอกซุ้มสูง๓๕ มม,กรอบใน กว้าง ๒๐ มม.
     หมายเหตุ : ความหนาหรือมิติความลึกวัดจากส่วนสูงสุดถึงพื้นหลังขององค์พระ พระที่พิมพ์ออกมาภายหลังมีขนาดที่เล็กและบางลงประมาณ ๑-๒ มม.และมีขนาดขอบกว้างและหนาขึ้น เมื่อทราบรูปแบบพระที่สมบูรณ์ดีแล้วคงพิจารณาพระองค์หลังๆที่เพี้ยนพิมพ์ได้ไม่ยากนัก
    
        
พระสมเด็จฯ "องค์ประถม" 







                                                    ด้วยความปรารถนาดี
                                                  ธุลี

สนใจเรียนรู้ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 
EMAIL : tule_prasomdej@hotmail.com โทร.๐๘๔-๙๑๔๑๒๘๗