วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อัตลักษณ์-ที่มาของพระสมเด็จวัดระฆังฯพิมพ์พระประธานทั้งยุคต้นหลวงวิจิตรนฤมลและหลวงวิจารณ์เจียรณัย(จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง)

             ท่านผู้สนใจศึกษาในเรื่อง พระสมเด็จฯวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร พิมพ์พระประธานโดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาและนักสะสมพระรุ่นเก่าคงเคยได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ"พระสมเด็จยุคแรกของวัดระฆังฯ" พ.ศ.๒๔๐๙ ที่เสียหายมาบ้างองค์พระซึ่งได้จากแม่พิมพ์พระของช่างหลวงนามว่าหลวงวิจิตรนฤมล เป็นแม่พิมพ์พระที่บางมาก พระสมเด็จฯที่กดพิมพ์ออกมาเกิดความเสียหายหลังจากผึ่งลม องค์พระค่อนข้างเปราะบางมีผงดินสอพองมากแต่มีผงปูนเปลือกหอยสังข์น้อยส่วนผสมหลายชนิดยังไม่ลงตัวและขาดน้ำประสานที่ดีทำให้เกิดการแตกหักง่ายจึงหลงเหลือให้ได้เห็นน้อยมาก องค์พระที่ชำรุดท่านนำมาตำผสมกับมวลสารมงคลของพิมพ์พระสมเด็จท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัยและพิมพ์พระของวัดเกษไชโยวรวิหาร ส่วนที่นำมากดพิมพ์เพิ่มที่วัดระฆังโฆสิตารามฯยุคนั้น
        ขนาดของพระสมเด็จฯวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหารโดย ท่านหลวงวิจิตรนฤมล
                

           พิมพ์พระสมเด็จฯหลวงวิจิตรนฤมลเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒๘ มม.ยาว ๔๐ มม.หนา ๓ มม.

ความหนาจากพระอุระ (อก) ถึงแผ่นหลัง  ๓ มม.



                                                       พระล้าง
    
         เนื่องจากที่พระสมเด็จฯของหลวงวิจิตรนฤมล มีลักษณะที่เปราะบางแตกหักเสียหายง่ายดังกล่าวนั้น จึงได้หยุดกดแม่พิมพ์ จากนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯทรงอนุญาติให้ท่านช่างทองหลวง หลวงวิจารณ์เจียรณัย หลังจากขออาสาเป็นผู้สร้างแม่พิมพ์พระถวาย
         โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯทรงกำหนดให้ใช้ รูปทรงพระประธานในพระอุโบสถวัดระฆังฯและรูปถ่ายของพระองค์ท่าน ครั้งได้พระราชทานแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นรูปแบบแม่พิมพ์ ซึ่งต่อมาเป็นที่นิยมของสังคมวงการพระเครื่องจนได้รับสมญานามว่า "จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง"   

พระสมเด็จฯวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารพิมพ์พระประธาน        
โดยช่างทองหลวงนาม  หลวงวิจารณ์เจียรณัย


ภาพต้นแบบ
             



 พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรณัย สี่เหลี่ยมคางหมู สอบบน บนกว้าง ๒๒ มม. ล่างกว้าง ๒๔ มม. ซุ้มสูง ๓๕ มม. หนา ๕ มม.    

ลักษณะแม่พิมพ์พระสมเด็จฯหลวงวิจิตรนฤมลที่แตกต่างกับ
แม่พิมพ์พระสมเด็จฯของหลวงวิจารณ์เจียรณัย



ลักษณะแม่พิมพ์หลวงวิจิตรนฤมล
๑.ลำตัวตั้งตรง
๒.พระเกศไม่ทะลุซุ้ม,ไม่มีหู  
๓. แบบการวางเท้าขวา(ขัดสมาธิราบ)ต่างกัน  
๔.ฐานสองเป็นแบบฐานขาสิงห์  
๕.ขนาดของแม่พิมพ์พระ ต่างกัน
พิมพ์ หลวงวิจิตรนฤมล        พิมพ์ หลวงวิจารณ์เจียรณัย
                 ลักษณะเด่นพิมพ์พระของหลวงวิจารณ์เจียรณัย    
 ๑.การวาดโค้งขึ้นของเส้นซุ้มทั้งสองด้านต่างกัน,เส้นซุ้มดุ้ง เหนือหูขวา
 ๒.อกสูงเด่น,ใบหน้า,ลำตัวทรงกระบอกบิดขวา ทำให้อกด้านซ้ายตั้งชันกว่าด้านขวา
 ๓.วงแขนขวาโค้งเล็กน้อย แขนซ้ายทิ้งดิ่งตรงลงมา
 ๔.มือทั้งสองวางซ้อนโย้ไปด้านซ้ายเหมือนรูปถ่ายของพระองค์ท่าน
 ๕.เข่าซ้ายยื่นล้ำเด่นกว่าเข่าขวา
 ๖. ฐานสมาธิแบบคมขวานสูงกว่าฐานศีลและฐานปัญญา
 ๗.พื้นนอกซุ้มสูงกว่าพื้นในซุ้ม 
 ๘. พื้นในซุ้มสูงกว่าพื้นในช่องวงแขน 
 ๙.ระยะห่าง เข่าขวากับฐานแรกแคบกว่าเข่าซ้ายกับฐานแรก(เพราะมีเท้าซ้ายและแข้งอยู่ใต้เข่าขวา)      
          หมายเหตุ: ลักษณะเด่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังต้องมีอยู่ในองค์พระเกือบทุกองค์ แม้การเพี้ยนพิมพ์จะมีมากมายเพราะมีมวลสารมงคลอุดแม่พิมพ์พระและการแต่งแม่พิมพ์หลายครั้ง,ฐานแรก-ฐานศีล,ฐานสอง-ฐานสมาธิ,ฐานล่าง-ฐานปัญญา ควรดูข้อมูลเพิ่มเติมจากบทความอื่นประกอบ




















                                                         ด้วยความปรารถนาดี
                                                                                
                                                                                 ธุลี
                         
             สนใจเรียนรู้ ติดต่อสอบถาม 

EMAIL : tule_prasomdej@Hotmail.com โทร.๐๘๔-๙๑๔๑๒๘๗