วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หลักแบบย่อการวินิจฉัยและพิจารณารูปทรงพระสมเด็จฯพิมพ์พระประธานวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรณัย(จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง)



                                               
                                            จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง
       ข้อมูลการพิจารณาพระสมเด็จฯพิมพ์พระประธาน วัดระฆังฯในอดีตจากสื่อต่างๆค่อนข้างสับสนที่เป็นเช่นนั้นเพราะเป็นการบอกกล่าวจากการเห็นพระฯที่เพี้ยนมาจากพิมพ์ทรงเดิมทั้งสิ้น เห็นกันมาอย่างไรก็เขียนกันไปอย่างนั้น ดั่งความรู้จาก คนตาบอดคลำช้าง ผู้ศึกษาที่ใฝ่เรียนรู้ไม่มีที่พึ่งที่ถูกต้องได้ บัดนี้ขอจงวางความรู้เดิมๆไว้ก่อน





            เริ่มพิจารณาที่พิมพ์ทรงองค์พระ การวาดโค้งขึ้นของเส้นซุ้มทั้งสองด้านโน้มต่างกัน,เส้นซุ้ม ดุ้ง เหนือหูขวาไม่โค้งเนียน ระดับพื้นพิมพ์พระต้องมี ๓ ระดับ,พื้นนอกซุ้มสูงสุด,พื้นในซุ้มสูงรองและพื้นในช่องวงแขนต่ำสุด 
        ส่วนขององค์พระ ใบหน้าคล้ายผลมะตูม,อกเด่นสูงสุด, ใบหน้าและอกบิดขวาคล้ายภาพนั่งของหลวงปู่โต ข้างอกทั้งสองเทลาดต่างกัน,รักแร้ซ้ายสูงกว่ารักแร้ขวา,มือทั้งสองวางซ้อนโย้ซ้ายองค์พระ ดังภาพ หัวเข่าซ้ายสูงรองจากอก ซึ่งสูงกว่าเข่าขวาและฐานแรก
       

        ช่องว่างระยะห่าง เข่าขวากับฐานศีลแคบกว่าเข่าซ้ายกับฐานศีล(เพราะมีฝ่าเท้าซ้ายอยู่ใต้เข่าขวาเห็นร่ำไร) ฐานกลางตั้งบนฐานล่างไม่สมดุลเยื้องด้านซ้ายขององค์พระ(เห็นเกือบทุกองค์)ฐานกลางสูงกว่าฐานแรกและฐานล่าง(องค์ติดลึก)องค์พระสีขาวคราบสีเหลืองน้ำตาล น้ำตาลเทา มวลสารฯมี ก้อนขาวขุ่น ขาวเทา อิฐส้ม ส้มแดงดำ เยื่อเหลือง ก้อนเขียว จุดผงทอง ผงเงิน ผงอัญมณีฯเป็นประกายระยิบระยับ
     ส่วนองค์พระที่เพื้ยนจากพิมพ์ทรงเดิมส่วนมาก พื้นผนังตื้นขึ้นปรากฏดังนี้ไม่มีหู,ไม่มีอาสนะ,มวลสารฯอุดไม่เห็นร่องพระบาทขวา,ทุกส่วนขององค์พระแคบและเล็กลง,เส้นซุ้มตื้น,ฐานกลางยุบต่ำกว่าฐานอื่น,ฐานกลางคมขวานกลายเป็นฐานขาสิงห์และขอบพิมพ์กว้างขึ้น 
       ความเก่า..แกร่งแห้ง ยุบ ย่น ขอบข้างต้องยุบเป็นร่อง
   เรื่องมวลสารมงคลเพิ่มเติมโปรดอ่านบทความอีกรูปแบบฯและบทความอื่นประกอบ (การอธิบายเป็นขององค์พระ)
   หมายเหตุ: ฐานศีล-ฐานแรก,ฐานสมาธิ-ฐานกลาง,ฐานปัญญา-ฐานล่าง



















สอบถามเพิ่มเติม;tule_prasomdej@hotmail.com

                              ด้วยความปรารถนาดี

                                              ธุลี





   

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

        

        พระเครื่องหรือพระสมเด็จของวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร เริ่มต้นหลังจากเมื่อครั้งหลวงปู่ โตทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น พระธรรมกิตติ เจ้าอาวาส วัดระฆังฯ เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕ จาก รัชกาลที่ ๔ ทรงอายุุได้ ๗๖ ปี ได้ ๕๕ พรรษา พิมพ์พระ คือ พระสมเด็จ เกศบัวตูม เป็นรูปแบบของความบริบูรณ์ สง่างาม มั่นคง สร้างสรรค์แม่พิมพ์พระโดยท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัย เจ้ากรมช่างสิบหมู่อาจมีแม่พิมพ์สองขนาด ระยะเวลานั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯทรงได้อธิษฐานจิตบรรจุลงพระเครื่องมากมายทั้งของ วังหลวง,วังหน้า,วังหลัง,ราชนิกูล,ข้าราชบริพารฯ ผู้ทำแม่พิมพ์มีทั้งช่างหลวงและช่างชาวบ้านลึกเกินสืบค้น โดยเฉพาะขณะอายุ ๘๐-๘๒ ปี
         ครั้งที่สอง ทรงได้รับพระราชทาน เป็น พระเทพกวี อายุ๘๘ ปี พ.ศ.๒๔๐๗ พิมพ์พระ คือ พระสมเด็จปรกโพธิ์เป็นแบบของการตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า แบบแม่พิมพ์โดย ท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัยอดีตเจ้ากรมช่างสิบหมู่อาจมี สองแม่พิมพ์ทั้งใหญ่และเล็กต่างกันเล็กน้อย
         ครั้งที่สาม ทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้ง เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ จากล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ พ.ศ.๒๔๐๘ อายุ ๘๙ ปี พรรษาที่ ๖๘ จ.ศ. ๑๒๒๗ เมื่อแรกเป็นแม่พิมพ์ที่บางพิมพ์ได้องค์พระที่งดงามแต่บอบบางมากพิมพ์พระของท่านหลวงวิจิตรนฤมลเจ้ากรมช่างสิบหมู่สมัยนั้น ต่อมาท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัย สร้างสรรค์ แม่พิมพ์ถวาย พ.ศ.๒๔๐๙โดยมีรูป พระประธานและรูปถ่ายของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เป็นต้นแบบ ซึ่งรู้กัน สืบเนื่องมาไม่ขาดตอน คือ พระสมเด็จ ฯ พิมพ์พระประธาน                          
                                     จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง
                       
             พระสมเด็จฯ พิมพ์พระประธาน วัดระฆังฯ  องค์ประถม




               พระสมเด็จฯ  พิมพ์ปรกโพธิ์ วัดระฆังฯ  องค์ประถม
                                                   
               


                         พระสมเด็จฯพิมพ์เกศบัวตูม องค์ประถม


               พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ เป็นพิมพ์ี่พระที่มีรูปแบบ สง่า งดงามเป็นแบบของการตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ อุดมไปด้วยพุทธศิลป์เป็นพิมพ์พระ ที่มีพระเนตร,พระกรรณ, พระนาสิก,พระโอษฐ์ และมีสังฆาฏิ งดงามชัดเจนเช่นเดียวกันกับพระสมเด็จฯพิมพ์เกศบัวตูม ที่มีแบบฐานเป็นห้าฐาน คือ ฐาน ศรัทธา,วิริยะ,ศีล,สมาธิและฐานปัญญา(ท่านแฝงคำสอนคือการเจริญ อินทรย์ห้าและพละห้า)มีฐานสมาธิแบบขาโต๊ะหรือขาสิงห์ 
          ซึ่งกำหนดรูปแบบพิมพ์พระโดยท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ผู้สร้างสรรค์แม่พิมพ์พระคือ ท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัย แม่พิมพ์ทั้งสองพิมพ์ปรกโพธิ์และพิมพ์เกศบัวตูมนำกลับมากดเพิ่มพร้อมพิมพ์พระประธานและนำกดพิมพ์เพิ่มที่วัดบางขุนพรหมอีกด้วย
           ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผู้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้มีโอกาสที่จะได้เห็นพระสมเด็จฯพิมพ์เกศบัวตูมและพิมพ์ปรกโพธิ์แบบสมบูรณ์นั้นน้อยมากจะเห็นบ้างก็ไม่สมบูรณ์ จนบางครั้งนักเขียนรุ่นใหม่กล่าวว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯไม่มีพิมพ์ปรกโพธิ์แต่กลับปรากฏมีพระสมเด็จฯพิมพ์ฐานแซมขึ้นมาซึ่งเป็นพระฯที่ติดพิมพ์ตื้นมากไม่เคยปรากฏว่ามีพระสมเด็จฯพิมพ์ฐานแซมที่สมบูรณ์ คมชัดและติดลึกเลย พระสมเด็จฯพิมพ์ฐานแซมองค์ดังๆในสังคมวงการฯก็ติดพิมพ์ตื้นมาก

               
           ผู้เขียน คิดเห็นและพิจารณาจากองค์ประกอบรูปแบบของแม่พิมพ์ พระสมเด็จฯพระพิมพ์ปรกโพธิ์อาจเป็นพระต้นพิมพ์ของพระสมเด็จฯพิมพ์ฐานแซม ก็เป็นไปได้ถ้ามีมวลสารมงคลที่เหลวอ่อนตัวอุดแม่พิมพ์พระในส่วนของใบโพธิ์และส่วนอื่นๆของแม่พิมพ์ทำให้องค์พระผิดเพี้ยนพิมพ์และการแกะแต่งแม่พิมพ์พระด้วยอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พระสมเด็จฯพิมพ์ปรกโพธิ์ที่งดงาม เลือนจางชื่อเสียงและคุณค่าความสำคัญลงไปเป็นเรื่องที่น่าเสียดายและไม่สมควรเกิดขึ้น สาเหตุเพราะไม่เคยมีผู้รู้จริง การวินิจฉัยจากผู้รู้และนักเขียนในอดีตจึงไม่เกิดขึ้นมีแต่การกล่าว ที่กล่าวตามๆกันมา ทั้งสิ้น
           ขนาดของแม่พิมพ์พระ สมเด็จฯพิมพ์ปรกโพธิ์ วัดส่วนกรอบกระจก กว้าง ๒๒ มม. ซุ้มยาว ๓๕ มม.
           พระฯยุคแรกมีมวลสารแก่เนื้อกล้วยที่เรียกเนื้อน้ำมันเพราะฉ่ำมากใช้น้ำพระพุทธมนต์,น้ำผึ้ง,น้ำอ้อยเป็นตัวประสาน     
                

             ในทำนองเดียวกันแม่พิมพ์ของ พระสมเด็จฯพิมพ์เกศบัวตูม ที่งดงามผึ่งผาย เป็นรูปทรงแบบก่อนการตรัสรู้ ก็อาจเพี้ยนพิมพ์กลายเป็น พระสมเด็จฯพิมพ์ทรงเจดีย์ ซึ่งมีมากกว่า พระสมเด็จฯพิมพ์เกศบัวตูม มีการกล่าวกันมาแต่อดีตว่า พระสองพิมพ์นี้เหมือนกันมากจนเกือบแยกไม่ออก
             ขนาดแม่พิมพ์พระสมเด็จฯพิมพ์เกศบัวตูม วัดส่วนกรอบกระจก กว้าง ๒๒ มม.ซุ้มยาว ๓๔ มม. 
                นักเขียนที่มีชื่อเสียงในอดีตได้แยกพิมพ์พระของพระเครื่องวัดระฆังโฆสิตารามไว้ว่ามี ๕ พิมพ์(ในความเป็นจริงอาจมีแค่ ๓ พิมพ์ ไม่นับรวมพิมพ์พระของ วังหลวง,วังหน้า,วังหลังและกลุ่มราชนุกูลอีกมากซึ่งภายหลังได้นำบรรจุไว้ใต้ฐานชุกชีของพระแก้วมรกตเป็นอันมาก)นักเีขียนในอดีตได้แจง(เดา)ไว้ด้วยว่า พิมพ์พระสมเด็จฯปรกโพธิ์และพิมพ์พระสมเด็จฯเกศบัวตูมมีการกดพิมพ์พระน้อยมากแต่ไม่มีการบอกเหตุผลใดๆซึ่งทั้งๆที่รูปแบบแม่พิมพ์พระมีความหมายสำคัญมากในทางพระพุทธศาสนา ถ้ามาพิจารณากันก็นับได้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุและผล
        น้ำประสานของพระฯทั้งสองพิมพ์ช่วงแรกคือน้ำพระพุทธมนต์,น้ำผึ้งและน้ำอ้อยยังไม่ได้ใช้น้ำมันตังอิ๊ว
               
               ส่วนพิมพ์พระประธาน ที่มีความหมายถึง การตรัสรู้แล้ว มีพระเกศทะลุซุ้มระฆัง เป็นรูปแบบพิมพ์พระที่มีองค์พระประธานและภาพถ่ายท่านเจ้าประคุณฯเป็นต้นแบบ ไม่มีพระเนตร,พระนาสิก,พระโอษฐ์, ไม่มีสังฆาฏิ เป็นรูปแบบพิมพ์ที่ผ่อนคลายปล่อยวาง มีฐานสามชั้น(ศีล,สมาธิ,ปัญญา)ฐานสมาธิแบบคมขวาน สร้างสรรค์แม่พิมพ์โดย ท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัย นักเขียนและผู้รู้หลายคนในวงการระบุว่ามีหลายบล๊อกหลายแม่พิมพ์ซึ่งความเป็นจริงอาจมีเหตุมาจากการเพี้ยนพิมพ์เพราะการพิจารณาวินิจฉััยรูปทรงพิมพ์พระประธานกลับมี ฐานข้อมูลเดียวกันทั้งหมด การตัดสินพระฯและเขียนอธิบาย สับสนมากมายไม่มีจุดยืนที่แน่นอน พิจารณาได้เฉพาะมวลสารมงคลและความเก่าเท่านั้น ดั่ง พวกคนตาบอดคลำช้าง
               โบราณกล่าวคือ คนหนึ่งคลำกระทบหูก็ว่าช้างเหมือนใบตาล คนหนึ่งคลำกระทบขาก็ว่าช้างเหมือนกับเสา คนหนึ่งคลำกระทบลำตัวก็ว่าช้างเหมือนฝากระดาน คนหนึ่งคลำกระทบหางก็ว่าช้างเหมือนแส้ 
           ซึ่งอาจเป็นความผิดพลาดมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้ศึกษาค้นคว้า ผู้รู้ในวงการสังคมพระเครื่องควรร่วมกันวินิจฉัยและวิเคราะห์พร้อมแก้ไขข้อมูลใหม่เพื่อสังคมวงการฯ  

พระสมเด็จฯพิมพ์ปรกโพธิ์




พระสมเด็จฯพิมพ์ฐานแซม




พระสมเด็จฯพิมพ์ ปรกโพธิ์ (เล็ก)

พิมพ์พระประธาน
                                         




                                                   

                     พระสมเด็จฯ พิมพ์เกศบัวตูม (อาจมีสองขนาด)



             




                พระสมเด็จฯพิมพ์ปรกโพธิ์และพระสมเด็จฯพิมพ์เกศบัวตูมยุคหลังเป็นพระที่มีมวลสารมงคลหลักทุกๆอย่างเหมือนกับของพระพิมพ์พระประธานที่ลงไว้ในบทความอีกรูปแบบเอกลักษณ์ฯ (พื้นผนังด้านนอกซุ้มสูงกว่าพื้นด้านในซุ้มและพื้นในซุ้มสูงกว่าพื้นในช่องวงแขน)
            โดยความเห็นของผู้เขียน ควรมีการเรียกชื่อว่า
                       พระสมเด็จฯพิมพ์ปรกโพธิ์ฐานแซม
                       พระสมเด็จฯพิมพ์เกศบัวตูมทรงเจดีย์
            ควรคำนึง...ทุกแม่พิมพ์พระเมื่อกดพิมพ์มากย่อมเพี้ยนพิมพ์ได้ มีมวลสารมงคลอุดส่วนต่างๆของแม่พิมพ์พระ สิ่งสำคัญมวลสารมงคลและอายุความเก่าเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าพระองค์นั้นๆเป็นพระแท้หรือพระปลอมแปลง 
            หลายข้อความเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนและขอรับผิดชอบทุกกรณี  เหตุที่เขียนบทความนี้เพราะต้องการเป็นทางออกของอดีตและเป็นทางเดินที่ตรงทางของผู้ศึกษาค้นคว้ารุ่นใหม่
           
             พระสมเด็จฯ  พิมพ์เกศบัวตูม  วัดระฆังฯ  องค์ประถม





    
   สาเหตุของการเรียก องค์ประถม มีสองเหตุ คือ
       ๑. ยังไม่เคยพบองค์พระที่สมบูรณ์มากกว่า 
       ๒. เพื่อเป็นหลักของการพิจารณารูปแบบพระฯ

  ทุกๆข้อมูลในบทความนี้โปรดไตร่ตรองและวินิจฉัย 
                               
                              ด้วยความปรารถนาดี
                                          ธุลี

สอบถาม เพิ่มเติม    โทร. ๐๘๔-๙๑๔๑๒๘๗