วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความคิดเห็นส่วนตัวของท่านเจ้าของเดิม พระสมเด็จฯองค์ประถม



ภาพต้นแบบ
          ท่านผู้เป็นเจ้าของเดิมพระ สมเด็จฯองค์ประถม แสดงความคิดเห็นจากประสบการณ์การฟังของท่านกล่าวถึง การทำแม่พิมพ์พระ พิมพ์พระประธานวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสีโดยช่างทองหลวงนาม หลวงวิจารณ์เจียรณัย ซึ่งเป็นโยมลูกศิษย์ที่คุ้นเคยเมื่อเกษียณจากเจ้ากรมช่างสิบหมู่ ตอนท่านว่างต้องเข้ามากราบนมัสการเยี่ยมเยียนท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นปกติ 
         ต่อมาได้ทราบพระประสงค์เรื่อง ทรงพระดำริการพิมพ์พระ ของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารแทนแม่พิมพ์พระที่บอบบางของท่านหลวงวิจิตรนฤมลโดยกำหนด มีพระประธานในพระอุโบสถและรูปถ่ายขององค์ท่านตอนได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นต้นแบบของแม่พิมพ์พระ 
          อดีตท่านเจ้ากรมช่างสิบหมู่จึงขออาสาทำแม่พิมพ์พระถวายคือท่านได้ขึ้นรูปพิมพ์ด้วยการแกะเป็นองค์พระบนแท่งก้อนปูนขาวเป็นต้นแบบแม่พิมพ์(ส่วนใหญ่จะแกะเทียน)ได้รูปแบบตามเจตนารมณ์พอพระทัยของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯแล้ว สวมล้อมด้วยกรอบโลหะ หลอมทองคำเททับต้นแบบปูนขาว เมื่อทองเย็นตัวลงได้แผ่นทองคำเป็นต้นแบบแม่พิมพ์ แล้วพลิกกลับกดลงบนแท่งครั่งที่เกือบแข็งตัว แล้วทำร่องสำหรับตัดขอบแม่พิมพ์ทั้ง๔ด้านได้แม่พิมพ์พระที่งดงาม สมบูรณ์แบบตามพระประสงค์ 
        


           แม่พิมพ์พระทองคำ ลักษณะสี่เหลี่ยมคางหมู สอบบนเล็กน้อย มีเอกลักษณ์เฉพาะหลายประการ ข้อมูลการสร้างสรรค์แม่พิมพ์พระนี้ต่างกับข้อมูลหลายๆแห่ง บ้างว่าแม่พิมพ์พระแกะจากหินลับมีด,หินสบู่หรือใช้ไม้แกะเป็นแม่พิมพ์พระ บ้างว่าตัดขอบองค์พระจากด้านหน้าไปด้านหลังผู้สนใจศึกษาควรช่วยกันพิจารณาและสืบค้นดูว่าข้อมูลใดเป็นความจริงมากที่สุด เพื่อประโยชน์ของสังคมวงการ ฯ
         พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร พิมพ์พระประธานเช่น พระสมเด็จฯองค์ประถม ซึ่งเป็นพระที่ติดเต็มแม่พิมพ์ เมื่อแรกนำออกมาจากผอบทึบ องค์พระแห้งมากและมีน้ำหนักเบา สีขององค์พระเป็น สีฟ้าอมเขียว ดังภาพ ท่านเจ้าของพระฯกล่าวว่าเมื่อแรกเห็นเกรงว่าองค์พระจะแตกหักง่ายเพราะดูลักษณะเหมือนว่าจะกรอบ ท่านโชดดีเคยได้รับคำแนะนำจากนักสะสมรุ่นเก่าท่านหนึ่งว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯของท่านเจ้าประคุณฯจะให้สวยงามต้องถูกเหงื่อบ้างและจะไม่แตกเสียหายบูชาอยู่ได้นานด้วยท่านจึงกระทำตามคำแนะนำนั้น พระสมเด็จฯองค์ประถม จึงกลับมาอยู่ในสภาพที่เรียกกันว่า แกร่ง หนึกนุ่ม อีกครั้งอวดโฉมให้ผู้สนใจใฝ่รู้ได้ทราบรูปแบบ พิมพ์พระประธาน อย่างแท้จริง
        



        ซึ่งปรากฏ ใบหน้า,หน้าอก,ลำตัวรูปทรงกระบอกบิดขวา,มือทั้งสองซ้อนโย้ไปทางซ้ายและเข่าซ้ายยื่นล้ำ ฯ เป็นรูปแบบเฉพาะพิมพ์ของท่านหลวงวิจารณ์เจียรณัยที่นำลักษณะรูปแบบของสองสิ่งมาผนวกกันอย่างพิถีพิถัน น่าทึ่งได้พิมพ์พระที่ สงบ องอาจ งดงามน่าอัศจรรย์สมกับ สมญานาม"จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง"ลักษณะของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามฯ ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเป็นเวลานานกว่า ๑๐๐ ปี องค์พระมีความแห้ง แกร่ง ถ้ามีการแขวนบูชาพระฯจะหนึกนุ่มเห็นความชุ่มฉ่ำ มีเงาสว่างต่างมิติ เป็นผลมาจากน้ำมันตังอิ้ว ข้อมูลนี้เป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างยิ่งของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ยุค สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

         
      สังเกตเห็น พระเพลา(ตัก)ขวาและซ้ายหนาต่างกัน เพราะว่าใต้ตักขวามีเท้าซ้ายวางอยู่ ทำให้ระยะห่างจากฐานศีล ต่างกัน
      ส่วนเรื่องประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการตัดขอบพิมพ์พระนั้นท่านกล่าวว่าคนไทยโบราณจะไม่ใช้มีดเป็นอุปกรณ์ตัดขอบแม่พิมพ์พระ เพราะมีดนั้นส่วนใหญ่ก็จะใช้ไปในงานตัด,ปาด,แล่,สับ,ฟัน กับสิ่งมีชีวิตต่างๆทั้งพืชและสัตว์อยู่แล้วจึงไม่นำมาตัดสิ่งที่เป็นมงคลโดยเฉพาะ พระเครื่อง เช่นพระเนื้อดินและพระเนื้อผงโบราณต่างๆ ยกเว้นคนรุ่นหลังต่อมาอาจใช้มีดลงอาคม เป็นการเฉพาะหรืออาจใช้มีดโกนปลงผมที่หมดคมแล้ว แม่พิมพ์พระประธานของวัดระฆังโฆสิตารามฯนี้ อาจจะนำไปกดเป็นแม่พิมพ์ของพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เส้นด้ายของวัดบางขุนพรหมด้วยก็เป็นไปได้ โปรดพิจารณา
          การตัดขอบพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามฯของท่านเจ้าประคุณฯทุกๆพิมพ์ ท่านใช้ตอกเป็นอุปกรณ์ตัด พระสมเด็จฯองค์ประถม ยืนยันได้ คำว่า ตอก ท่านอธิบายว่าส่วนที่เป็นเนื้อไม้ไผ่ ยาวตามแนวตั้งของลำไผ่เหลาคล้าย ลิ่ม
         หากใช้มีดฝานหรือผ่าบางๆเรียกการจักตอก สามารถนำมาเป็นอุปกรณ์ใช้มัดสิ่งของ หรือ สานเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆได้มากมาย เลือกต้นอ่อนต้นแก่ได้ตามการใช้งานในอดีตมีป่าไผ่มาก ลำต้นไผ่ใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า ๑๕ เซนติเมตร หนามากกว่า ๑ เซนติเมตร สามารถผ่าเอาเนื้อไม้ไผ่มาทำเป็นอุปกรณ์สำหรับปาดและตัดคล้าย ลิ่มมีดได้ ตอกนั้นมีเนื้อไม้เป็นเส้นเสี้ยนเล็กๆ ตามแนวยาว




       

     
       สำหรับแม่พิมพ์พระมีร่องในตัวพิมพ์ สำหรับตัดขอบทั้ง ๔ ด้าน ท่านตัดหลังจากกดมวลสารมงคลแน่นเต็มแม่พิมพ์แล้วจึงใช้ลิ่มตอกปาดขึ้นหรือปาดออกด้านข้างเพื่อเอามวลสารมงคลส่วนเกินออกแล้วจึงตัดขอบแม่พิมพ์พระและได้นำองค์พระไปเคาะออกจากแม่พิมพ์เพื่อผึ่งลม ตัดจากด้านหลังไปด้านหน้า สังเกตุได้จากองค์พระทุกองค์มักมีเนื้อมวลสารมงคลเกินด้านหน้า ถ้าใช้ลิ่มตอกอันใหม่การตัดจะปรากฏร่องลึกและเมื่อมวลสารฯอุดร่องตอกก็จะเรียบคล้ายมีด(ควรพิจารณา)
         การบอกกล่าวนี้ ผู้เขียนเห็นด้วยทั้งสิ้นและถ้าหากมีคำถามว่าทำไม?ต้องใช้ตอกตัด ผู้เขียนคิดว่าเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ต้นไผ่เป็นต้นไม้ที่มีคุณมากประโยชน์มาก เนื้อไม้สะอาด เติบโตแบบทวีคูณ สมัยก่อนคนไทยท่านใช้เป็นอุปกรณ์ตัดสายรกของเด็กไทยยุคโบราณทุกๆคน ลำไผ่ถ้าผ่านการแช่น้ำสักหนึ่งสัปดาห์เพื่อเอารสไม้ออกสามารถนำมาทำเป็นที่พักอาศัย, ภาชนะ, เครื่องป้องกันภัย,อาวุธแข็งแแรงทนทานดี ต้นอ่อนเป็นอาหาร ฯลฯ  
          ขอสรุปว่า มีนัย คนไทยเรารู้กัน! 






                                       
                                     ด้วยความปรารถนาดี 
                                           ธุลี

   สนใจเรียนรู้ และติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 

EMAIL : tule_prasomdej@hotmail.comโทร.๐๘๔-๙๑๔๑๒๘๗